เทศบาลเมืองปรกฟ้าเชิญชวนทุกท่านร่วมประหยัดไฟฟ้าด้วย”18 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด”

วันนี้เรามีวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัยด้วยการตรวจดูอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

1) สายไฟฟ้า
-สายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนจะแตกหรือแห้งกรอบบวม
-ฉนวนสายไฟชำรุด อาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะหรือวางของหนักทับ เดินสายไฟใกล้แหล่งความร้อน ถูกของมีคมบาด
-จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
-สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
-สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต้องเดินสายไฟฟ้าโดยใช้พุกประกับ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้

2) เต้ารับ-เต้าเสียบ
-เต้ารับ เต้าเสียบ ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
-การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
เต้าเสียบ เมื่อเสียบใช้งานกับเต้ารับต้องแน่น
-เต้ารับ ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็กเล็กที่อาจเล่นถึงได้

3) แผงสวิตช์ไฟฟ้า
-ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและสูงพอควร ห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่าง ๆ
-ตรวจสอบดูว่ามี มด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด
-อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
-ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ใด
-แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน
-สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์
-ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
-ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด
-ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
-ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
-ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น

4) เบรกเกอร์
-ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
-ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด
-ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ
-เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

5) ตู้เย็น-ตู้แช่
-ให้ตรวจสอบตู้เย็น ตู้แช่ ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟ -หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
-ให้นำแผ่นฉนวน เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก ปูบริเวณหน้าตู้เย็น ตู้แช่ และแนะนำให้ผู้ที่จะไปเปิดตู้เย็น ตู้แช่ ให้ยืนอยู่บนแผ่นฉนวนดังกล่าวเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว
-ควรถอดปลั๊กตู้เย็น ตู้แช่ ออก หากท่านไม่ใช้งานเป็นเวลานานหรือท่านไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน
-โครงโลหะของตู้เย็น ควรทำการต่อสายลงดิน

6) เครื่องปรับอากาศ
-ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งบุคคลสามารถเข้าไปจับต้องหรือสัมผัสได้) ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
-สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้าเครื่องปรับอากาศ ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้องตามพิกัดการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
-จุดต่อสายและจุดเข้าปลายสายทุกจุด ต้องทำให้แน่นและปิดฝาครอบหรือพันฉนวนให้เรียบร้อย
-เครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ
-หากขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศมีเสียงดังมากผิดปกติ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไข
-ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ เมื่อท่านออกจากบ้าน

7) หม้อหุงข้าว
-ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของหม้อหุงข้าว โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
-ปลั๊กเสียบของหม้อหุงข้าวต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปลื่อยชำรุด
-เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กออกทันที
-การใช้หม้อหุงข้าวให้ใส่หม้อหุงข้าวตัวในพร้อมปิดฝาให้เรียบร้อยแล้วจึงเสียบปลั๊กใช้งาน
-การจับยกถือหม้อหุงข้าวให้ถอดปลั๊กให้เรียบร้อยก่อน

😎 เครื่องซักผ้า
-ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้า ต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
-ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้าเมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น
-ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องซักผ้า โดยใช้ไขควงเช็ดไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
-โครงโลหะของเครื่องซักผ้า ควรทำการต่อสายดิน
-ผู้ใช้เครื่องซักผ้า ร่างกายต้องไม่เปียกชื้นและไม่ยืนอยู่บนพื้นที่เปียกแฉะขณะจับต้องเครื่องซักผ้า
-เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที

9) พัดลมตั้งพื้น
-ขณะใช้งานหากพัดลมมีเสียงดังผิดปกติ หรือมีกลิ่นไหม้ หรือหยุดหมุนมีเสียงครางให้หยุดใช้พัดลมทันที และนำไปตรวจซ่อมแก้ไข
-ในที่ที่มีสารไวไฟไม่ควรใช้พัดลม เพราะอาจเกิดประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ในกรณีที่เป็นพัดลมตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
-ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของพัดลม โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
-ปลั๊กเสียบของพัดลมต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
-เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง ให้ดึงปลั๊กเสียบออก
-พัดลมติดเพดาน, ฝาผนัง
-เมื่อเลิกใช้ทุกครั้งให้ปิดสวิตช์
-สวิตช์ปิด-เปิดพัดลม ต้องมีฝาครอบไม่แตกร้าว
-หากสวิตช์พัดลมที่มีฝาครอบเป็นโลหะ ให้ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ตามที่กล่าวมาแล้ว

10) เครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า
-ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
-โครงโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า ควรทำการต่อสายดิน
-ถ้าเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่สามารถปั๊มน้ำขึ้นได้ห้ามใช้งานและดำเนินการตรวจสอบเครื่องปั๊มน้ำทันที
-ต้องไม่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้าใกล้สารไวไฟ
-เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดสวิตช์ หากเป็นแบบปลั๊กเสียบให้ถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง

11) กาต้มน้ำไฟฟ้า
-ปลั๊กเสียบของกาต้มน้ำไฟฟ้า เมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น เนื่องจากกาต้มน้ำไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้จำนวนมาก
-เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
-สายไฟฟ้าของกาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ ฉีกขาด แตกร้าว
-ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของกาต้มน้ำไฟฟ้าโดยใช้ไขควงเช็คไฟ–หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
-กาต้มน้ำไฟฟ้า ควรวางอยู่บนสิ่งที่ไม่ติดไฟ เช่น แผ่นกระเบื้อง แผ่นแก้ว และต้องไม่อยู่ ใกล้สารที่ติดไฟ
-ขณะใช้งาน ต้องระวังอย่าให้น้ำในกาต้มน้ำไฟฟ้าแห้ง
-เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที

12) เตารีด
-เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตารีด ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
-ตรวจสอบสายไฟที่ต่อที่เตารีดต้องให้แน่น เนื่องจากส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอาจโยกคลอนในขณะใช้งาน และให้ตรวจสอบปลอกฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีดอย่าให้เปื่อยและชำรุด
-ปลั๊กเสียบของเตารีดเมื่อเสียบกับเต้ารับต้องให้แน่นเนื่องจากเตารีดใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
-เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
-เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
-การใช้งานอย่าวางเตารีดใกล้สิ่งที่จะติดไฟได้ง่ายเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นได้
-สายไฟฟ้าของเตารีดห้ามใช้สายอ่อนธรรมดา เนื่องจากตัวเตารีดอาจไปถูกสายไฟฟ้าทำให้ฉนวน พีวีซี. ละลายเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือผู้ใช้อาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ ให้เลือกใช้สายไฟเฉพาะของเตารีด ซึ่งเป็นสายที่มีฉนวน 2 ชั้น และชั้นนอกทนความร้อนได้
-ขณะใช้เตารีด ผู้ใช้ควรยืนอยู่บนฉนวน เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นไม้ตามความสะดวก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตัวเตารีด
-ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่

13) เครื่องดูดฝุ่น
-เต้าเสียบของเครื่องดูดฝุ่น ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
-สายไฟฟ้าของเครื่องดูดฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานานมาก(หลายชั่วโมง) เพราะเครื่องจะร้อนมากอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้นได้
-หมั่นเทฝุ่นในถุงกรองทิ้ง จะช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

14) เครื่องเป่าผมไฟฟ้า
-เต้าเสียบของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
-สายไฟฟ้าของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกเปื่อยยุ่ย
-ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะ หากพบว่าไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป

15) เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า
-ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเตาไฟฟ้าและกะทะไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วก็ให้แก้ไข
-สายไฟฟ้าของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ หรือฉีกขาด แตก
เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
-เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่วางอยู่บนพื้นที่ติดไฟและอยู่ใกล้สารไวไฟ
-เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
-ผู้ใช้เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ควรยืนอยู่บนพื้นฉนวน เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูดเนื่องจากไฟฟ้ารั่ว
-ควรระวังอย่าตั้งสิ่งหุงต้มบนเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ทิ้งไว้นาน เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้

16) โทรทัศน์
-ไม่ควรตรวจซ่อมโทรทัศน์ด้วยตนเอง หากท่านไม่มีความรู้เพียงพอเนื่องจากมีส่วนของไฟฟ้าแรงสูงอยู่ในโทรทัศน์ด้วย
-เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของโทรทัศน์ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
-ห้ามเปิดฝาครอบโทรทัศน์ในขณะที่เปิดดูโทรทัศน์อยู่

ด้วยความปราถนาดีจาก..กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปรกฟ้า

Message us